วันพุธที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558


สภาการศึกษาชู 4 ข้อเสนอทำอย่างไรให้นักเรียนไทยมีคะแนน PISA สูงขึ้น







ที่มา:วารสารการศึกษาไทย  2556  THAILAND EDUCATION  JOURNAL 
สำนักงานเลขาธิการการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากได้วิชาการจัดการความรู้


สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากได้วิชาการจัดการความรู้
วันที่ 27  สิงหาคม  2558
      เรื่อง กรอบแนวคิดการจัดการความรู้
ปัจจุบันกรอบแนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management Framework) มีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก มีองค์กร นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้ได้นําเสนอกรอบแนวคิดการจัดการความรู้ในหลายรูปแบบ ดังนั้นในบทนี้จะนําเสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้แบบต่าง ๆ เพื่อให้เห็นจุดดี จุดด้อย ของกรอบแนวคิดแต่ละแบบ เพื่อให้องค์กร ชุมชนท้องถิ่น สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
        วิกก์(Wiig)(1993)ได้เสนอกรอบความคิดในการจัดการความรู้ ที่เรียกวา เสาหลักของการจัดการความรู้ (Pillar of Knowledge Management)
        4 ขั้นตอน
 1.แบ่งประเภทกิจกรรม                 
 2.นำเสนอ
 3.การประเมินกิจกรรม
 4.วิเคราะห์
 5.เผยแพร่

        พรอบสก์ (Probst )รอบ(Raub)และฮาร์ด (Romhardt)(2000) 

        6 ขั้นตอน
1.กำหนดองค์ความรู้ที่ต้องการ
2.จัดหาความรู้
3.สร้างและพัฒนาความรู้ใหม่
4.แบ่งปันและกระจายความรู้
5.การใช้ความรู้
6.การจัดเก็บความรู้

       เทอร์แบน(Turban) และเฟรนเซล (Frencel) (1992)

       6 ขั้นตอน
1.สร้างองค์ความรู้
2.จัดหาความรู้
3.นำเสนอ
4.เผยแพร่
5.ใช้ความรู้
6.ประเมินองค์ความรู้

    โนนากะ (Nonaka) และ ทาเคชิ (Takeuchi) (1995) ได้เสนอกรอบความคิดการจัดการความรู้ โดยกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทั้งสองในรูปแบบของวงจร“SECI”เป็นวงจรเปลี่ยนแปลงความรู้ (Knowledge Conversion) ระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง ( Eplicit Knowledge) ทําให้เกิดความรู้ใหม่ขึ้น ซึ่งจะหมุนเกลียวไปเรื่อย ๆ อย่างไม่สิ้นสุด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลาวงจรSECI เป็นการสร้างความรู้ใน 4 ลักษณะ คือ Socialization Externalization Combination และ 

Internalization    

    ไลนอวิซ (Liebowitz )และ เบคแมน(Beckman) (1998)

    7 ขั้นตอน
1.การกำหนดความรู้
2.แสวงหาความรู้
3.คัดเลือก
4.จัดเก็บความรู้
5.แบ่งปันแลกเปลี่ยน
6.ประยุกต์ใช้
7.สร้างองค์ความรู้
8.สร้างผลิตภัณฑ์

     โอเดล (O’Dell) เกรย์ซัน (Grayson) และ เอสเซเดส (Essaides) (1998)  ได้เสนอกรอบความคิดที่ใช้ในการจัดการความรู้ ที่มีองค์ประกอบหลัก 3 อยาง 

1.การกําหนดสิ่งสําคัญที่ทําให้องค์กรต้องทําให้สําเร็จ
2.ปัจจัยที่ทําให้องค์กรสามารถจัดการความร้ ได้อย่างมีประสิทธิผล
3.กระบวนการเปลี่ยนแปลง

      กรอบแนวคิดการจัดการความรู้ในบริบทสังคมไทย

        1.การจัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม (Transition and Behavior Management)  วัฒนธรรมมีอิทธิพล
ต่อพฤติกรรมของคนในองค์กรและเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยากยิง
        2.การสื่อสาร (Communication) การสื่อสารเป็นหัวใจหลักที่ทําให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจถึงสิ่งที่กาลังจะเกิดขึ้น สิ่งที่องค์กรจะต้องสื่อสารให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจก็คือ องค์กรกาลังจะทําอะไร ทําไปเพื่ออะไร จะทําเมื่อไร และทําอย่างไร
        3.กระบวนการและเครื่องมือ (Process and Tools)  กระบวนการและเครื่องมือเปรียบเสมือนแกนหลักของการจัดการความรู้ที่จะช่วยให้เกิดพฤติกรรมของการแลกเปลี่ยนความรู้ภายในองค์กร 
       4.การฝึกอบรมและการเรียนรู้(Training and Learning) เป็นการเตรียมความพร้อมของบุคลากรทุกระดับสําหรับการจัดการความรู้
       5. การวัดผล (Measurements)  ผลจากการวัดจะสะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถทบทวนแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมถึงปรับปรุงให้กระบวนการต่าง ๆ ประสบผลสําเร็จจมากยิ่งขึ้น
      6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล (Recognition and Rewords)  องค์กรควรใช้การ ยกย่องชมเชยและให้รางวัลเป็นแรงจูงใจในช่วงเริ่มต้น เพื่อโน้มน้าวให้บุคลากรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้และเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้

      ประพนธ์ ผาสุขยืด (2547 ) 

1. ส่วนหัวปลา (Knowledge Vision : KV) คือ ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้
2. ส่วนกลางลําตัว (Knowledge Sharing : KS) คือ ส่วนของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share and Learn) จัดเป็นส่วนสําคัญที่สุด และยากที่สุดในกระบวนการจัดการความรู้
3. ส่วนที่เป็ นหางปลา (Knowledge Assets : KA) คือ องค์ความรู้ที่องค์กรได้เก็บสะสมไว้เป็นคลังความรู้หรือขุมความรู้ ซึ่งมาจาก 2 ส่วนคือ
         ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้เปิ ดเผย (Eplicit Knowledge) คือ ความรู้เชิงทฤษฎีที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น เอกสาร ตํารา และคู่มือปฏิบัติงาน เป็นต้น
        ความรู้ซ่อนเร้นหรือความรู้ฝังลึก (Tacit Knowledge) คือ ความรู้ที่มีอยูใน่ตัวคน ไม่ปรากฏชัดเจนเป็นรูปธรรม แต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามาก


ที่มา:http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/10/03.pdf



สรุปองค์ความรู้จากเพื่อนๆ นำเสนอ    

สื่อสารอย่างให้ปลอดภัย







การสื่อสารให้มีประสิทธิภาพนั้น มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 4 ปัจจัย ได้แก่
        1.ผู้ส่งข่าวสาร ตัวผู้ส่งข่าวสารไม่ได้ทำความเข้าใจปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการรับสาร ทำให้ส่งข้อมูลที่ผู้อื่นเห็นข่าวสาร หรือรับรู้แล้ว ไม่ได้ให้ความสนใจ ไม่ได้ติดตาม ปล่อยผ่านไป คิดว่าไม่สำคัญ ดังนั้น ต้องแก้ไขที่ผู้ส่งข่าวสาร
       2.ผู้รับข่าวสาร อาจมีปัญหาในการรับข่าวสาร ไม่มีความถนัดในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยี หรือเพิกเฉยต่อข่าวสาร เห็นข้อมูลที่เข้ามามากมาย แต่ไม่ใส่ใจที่จะคัดกรอง ไม่เห็นความสำคัญ ต้องแก้ไขที่ผู้รับข่าวสาร
       3.ข้อมูลเนื้อหาสาระของข่าวสาร จากเทคโนโลยีที่ทำให้บางคนถนัดแต่ “Copy Paste” คือ การก็อปปี้ แล้วนำมาวางปะไว้ ทำให้ข้อมูลมีมากหลายหน้า ทำให้ผู้อ่าน ผู้รับสารเบื่อที่จะอ่าน เห็นแล้วอาจจะปล่อยผ่าน ไม่ได้ใส่ใจ
      4.วิธีการส่งสาร แม้ว่าจะมีเครื่องมือสื่อสารจะทันสมัย ทั้งการส่งอีเมล์ (E-mail) ระบบ Intranet ภายในองค์กร

พัฒนาครูทั้งระบบ







         การพัฒนาคุณภาพครู ทั้งระบบ เป็นกระบวนการที่ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบ (Systematic) ตั้งแต่การนำคนเข้าสู่อาชีพครูจนถึงการจากไปแล้วของครู และให้ดำเนินการเป็นระบบ (Systemic) ที่สามารถตรวจสอบและมีผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนได้อย่างชัดเจนในแต่ละอนุ ระบบ (Subsystem) ของกระบวนการต่าง ๆ จะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพครูทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหาภาคสามารถดำเนินไป อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ซึ่งหมายถึงการพัฒนาครูทั้งระบบอย่างมีคุณภาพ

คำถามง่ายๆ ก่อนตัดสินใจซื้อคอมพิวเตอร์แท็บแล็ต



1.แนวทางการเลือก
2.การใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน
3.ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์
4.การเล่นเกมส์บนคอมพิวเตอร์

บทเรียนสำหรับปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5





ความเป็นมา 

1.พ.ศ.2542 ได้มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่ที่ สกศ. หรือสำนักคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติทำหน้าที่กำหนดนโยบายการศึกษาของชาติ
2.มีการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกในรัชกาลที่ 5 ปฏิรูป ครั้งที่ 2 ในช่วง พ.ศ.2517-2521
3.ในช่วง พ.ศ.2517 สกศ.มอบหมายให้ ดร.ประยูร ศรีประสาธน์ ทำหน้าที่ดำเนินการศึกษาแนวทางการปฏิรูป

สภาการศึกษา เจาะลึกผลงานวิจัยดีเด่น ชี้ชัด  ทิศทางสำคัญของการศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย





การประชุมวิชาการ การวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 15 (The 15 th  National Symposium on Educational Research)เรื่อง การศึกษาเพื่ออนาคตประเทศไทย

          การจัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว การจัดการศึกษาขั้นอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา ก็เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะเป็นการผลิตกำลังคนเพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันให้ความสำคัญกับการผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานและมีความพร้อมในการรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยมีผลงานวิจัยที่ส่งเข้ามาในประเด็นเรื่องนี้ ร้อยละ 8.55



            ผลงานวิจัยดีเด่นอันดับ 1 คือการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการประเมินการเรียนรู้ของนิสิตครูเพื่อการเรียนรู้ของผู้เรียนของ รองศาสตราจารย์พรทิพย์ ไชยโสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ งานวิจัยชิ้นนี้ได้นวัตกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด และเสริมสร้างสมรรถนะด้านการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแก่นิสิตครู

สภาการศึกษาชู 4 ข้อเสนอทำอย่างไรให้นักเรียนไทยมีคะแนน PISA สูงขึ้น




โครงการ PISA ทำการประเมิน ทุก 3 ปี โดยประเทศไทยมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นศูนย์ประสานงาน รวมถึงเป็นผู้เตรียมการออกข้อสอบทักษะที่ได้รับจากโรงเรียนไปใช้ในชีวิตจริงในอนาคต 3 ด้านคือ "การรู้เรื่องการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์"

การวิเคราะห์ผลคะแนน PISA ครั้งที่ผ่านมาพบว่าสาเหตุที่นักเรียนไทยส่วนใหญ่ได้คะแนนค่อนข้างต่ำ

1.นักเรียนไม่มีนิสัยรักการอ่าน
2.นักเรียนไม่คุ้นเคยกับข้อสอบในลักษณะการเขียนตอบ หรือให้คำอธิบาย
3.นักเรียนขาดพื้นฐานของสาระการเรียนรู้
4. คุณภาพของโรงเรียนแตกต่าง

การพัฒนาและยกระดับศักยภาพครูผู้สอนเพื่อขยายผลไปสู่ผู้เรียน 

1.สำรวจและรวบรวมข้อมูลต่างๆ

2. วิเคราะห์ข้อมูลที่สำรวจและรวบรวมได้จากสถานศึกษาต้นแบบ (Best Practice) เพื่อสังเคราะห์ และสรุปถึงสาเหตุและปัจจัยต่างๆ

3. จัดทำความร่วมมือเพื่อพัฒนาและส่งเสริมเผยแพร่ข้อมูล

4. ส่งเสริมหน่วยงาน องค์การ สถานศึกษาที่เกี่ยวข้อง พัฒนาครูโดยใช้คู่มือที่ได้จากการวิจัยฯ และใช้วิทยากรซึ่งเป็นครูผู้สอนจากสถานศึกษาต้นแบบ (Best Practice)

ความก้าวหน้าของการประเมินผลด้านการศึกษานานาชาติ

1.โครงการการศึกษาระดับนานาชาติว่าด้วยการรู้คอมพิวเตอร์และข้อมูลข่าวสาร

2.การศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

3.โครงการศึกษาด้านหน้าที่และความเป็นพลเมืองระดับนานาชาติ

4.โครงการการศึกษาด้านปฐมวัย

5.ความก้าวหน้าการศึกษาด้านทักษะการคำนวณระดับนานาชาติ


นางสาวปิยวรรณ   เพชรบรรจบ  รหัสนักศึกษา5681135081


วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

 สรุปความรู้ที่ได้จากรายวิชาการจัดการความรู้ 
วันที่ 10 สิงหาคม 2558
           ดิฉันได้ส่งงานในคาบที่แล้ว  อาจารย์ก็ได้ตรวจตามรหัสเพื่อหาข้อผิดพลาด  สามารถที่จะให้นักเรียนเกิดความปรับปรุงในผลงาน  ในดีขึ้นเพื่อให้เกิดความถูกต้อง  สมบูรณ์ของเว็บไซต์   และได้ฟังเพื่อนๆๆเล่าประสบการณ์ในการทำงาน  หรือความน่าประทับใจของแต่ละคนเพิ่มเติมจากสัปดาห์ที่แล้ว และทำให้ฉันได้เรียนรู้ลักษณะงานหลายๆงานที่เพื่อนได้ไปทำในช่วงปิดเทอม ว่าเหนื่อยและหนักแค่ไหนกว่าจะได้เงินมาแต่ละบาท 


        เขียนโดย  นางสาวปิยวรรณ   เพชรบรรจบ  รหัส 5681135081

วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558

         

ที่มา www.topmba.com


               Ikujiro Nonaka  คือ บิดาแห่งการจัดการเรียนรู้ เป็นผู้ที่บุกเบิกให้การจัดการเรียนรู้เป็นที่รู้จัก สร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ และ Ikujiro Nonaka ได้สร้างแบบจำลองขึ้นมา คือ SECI Model

             ความรู้(Knowledge) คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา.....

         การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  คือ การรวบรวมองค์ความรู้ ที่มีอยู่ในตัวบุคคลมาพัฒนา เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ พัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ และนำความรู้ที่มีอยู่มาปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ



     ประเภทของความรู้
ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

      1. Explicit knowledge คือ ความรู้ที่เห็นได้ชัดเจน สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ง่าย



      2. Tacit knowledge คือ ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ ทักษะต่างๆ หรือพรสวรรค์ ถ่ายทอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ยาก





ที่มา http://kmi.or.th/tag/โมเดลปลาทู/

         สรุปความรู้ที่ได้รับจากวิชาการจัดการความรู้ทางการศึกษา    

วันที่ 6 สิงหาคม 2558            
              สิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ในวันนี้  ครูได้มอบหมายงานให้เพื่อนๆ เล่าความประทับใจของแต่ละคน   ได้ประสบการณ์แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน อย่างเช่น ประสบการณ์การทำงาน  การออกไปฝึกการทำงาน  การใช้ชีวิตอยู่บ้านในช่วงปิดเทอมของแต่ละคน  ซึ่งบ้างคนเคยทำมาบ้างไม่เคยทำมาบ้าง  มีข้อแตกต่างกัน  นำมาแชร์แลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้ใหม่  อย่างเช่นในกรณีของเฟินได้ประสบการณ์การล้างแก้วไอศกรีม  ว่าต้องล้างอย่างไร  หนูคิดว่าการแลกเปลี่ยนความรู้นี้  สอดคล้องเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้ในเรื่องความรู้ ที่อาจารย์ได้สอนในคาบแล้ว  ความรู้คือ การสั่งสมประสบการณ์ในการทำงาน  แล้วเกิดเป็นการจัดการความรู้เกิดมาจากที่เพื่อนๆ ได้เรียบเรียงออกมาพูดหน้าชั้นเรียน   ความรู้ของเรากับความรู้ของเพื่อน  เกิดเป็นความรู้ใหม่